แนะนำโครงสร้างเหล็ก PEB. (Pre-Engineered Buildings)

9644 จำนวนผู้เข้าชม  | 

แนะนำโครงสร้างเหล็ก PEB. (Pre-Engineered Buildings)

แนะนำโครงสร้างเหล็ก PEB. (Pre-Engineered Buildings)

ปัจจุบันการออกแบบโครงสร้างเหล็กมักจะมีการผสมผสานกันกับความแข็งแรงและความสวยงาม ดังนั้น PEB. จึงสามารถตอบโจทย์นี้ขึ้นและมีความนิยมกันอย่างกว้างขวาง

            อาคารโครงสร้างเหล็ก PEB. สามารถออกแบบหัวเสาได้สูงถึง 25-30 m. และความกว้างของอาคารโดยไม่มีเสากลางได้ถึง 80.0 m. และนั่นเป็นข้อได้เปรียบที่สามารถใช้พื้นที่ภายในได้อย่างอิสระและสามารถแบ่งพื้นที่ได้ตามต้องการ

           อาคารหลัก PEB. สามารถช่วยลดระยะเวลาการก่อสร้างได้เกือบเท่าตัวและยังสามารถช่วยลดโครงสร้างรากฐานได้ 30-40% นอกจากนั้น อาคารเหล็ก PEB. ยังสามารถติดตั้งอุปกรณ์เสริมต่างๆ ได้อย่างมากมาย เช่นลูกหมุนระบายอากาศช่องระบายอากาศด้านบน-ด้านล่างเครนยกของ, มีชั้นกั้นกลางทำเป็นที่เก็บของหรือสำนักงานได้

การใช้งานในรูปแบบต่างๆ (PEB.)

1. WAREHOUSES โกดัง

2. FACTORIES โรงงาน

3. WORKSHOPS เวิร์คช็อป

4. OFFICES สำนักงาน

5. GAS STATIONS สถานีแก๊ส

6. VEHICLE PARKING SHEDS โรงจอดรถ

7. SHOWROOMS โชว์รูมต่างๆ

8. AIRCRAFT HANGARS โรงจอดเครื่องบิน

9. GYMNASIUM โรงยิม

10. RECREATIONAL สันทนาการ

11. INDOOR STADIUM ROOFS หลังคาสนามกีฬาในร่ม

13. BRIDGES สะพานเหล็ก

ข้อดีของอาคารโครงสร้างเหล็ก (PEB.)

1. ลดเวลาในการก่อสร้าง

เนื่องจากเป็นการก่อสร้างแบบคู่ขนาน ภายหลังจากการทำแบบก่อสร้างแล้วเสร็จโครงเหล็กจะถูกประกอบขึ้นในโรงงานจนเสร็จสิ้นการทำสี และจะถูกจัดส่งไปประกอบที่หน้างานซึ่งเป็นเวลาที่งานคอนกรีตที่จะทำให้ลดเวลางานก่อสร้างได้ถึง 50%

2. ลดต้นทุน

อุปกรณ์ทุกอย่างที่เราออกแบบสามารถใช้ได้ 100%

3. สามารถต่อขยายได้

สามารถเพิ่มความยาวของอาคารหรือเพิ่มความกว้างได้โดยการออกแบบเผื่อไว้สำหรับโดยไม่ต้องตัดหรือรื้ออาคารเดิม

4. ทำความกว้างได้ขยายมากกว่า

สามารถก่อสร้างอาคารได้กว้างถึง 80.0 m.

5. ควบคุมคุณภาพที่ดีกว่า

เนื่องจากขั้นตอนส่วนมากเป็นการสร้างขึ้นที่โรงงานจึงสามารถควบคุมคุณภาพได้ดีกว่าเช่น การเชื่อม การพ่นทราย (Sand Brush) และการทาสี

6. การบำรุงรักษาต่ำ

การควบคุมคุณภาพที่โรงงานจึงทำให้การบำรุงรักษาต่ำ เช่นการยึดเกาะของสีที่ดีจึงไม่จำเป็นต้องดูแลบ่อย

7. ประหยัดพลังงาน

เนื่องจากอาคารสามารถตัดฉนวนกันความร้อนได้ทุกชนิดและสามารถระบายอากาศได้ดีจึงช่วยให้ประหยัดพลังงาน

8. สามารถใส่อุปกรณ์ตกแต่งได้

อาคารสามารถเสริมอุปกรณ์ตกแต่งได้ เช่น facius, camopies ทำส่วนโค้ง, แต่งด้วยแผ่นคอนกรีตสำเร็จหรือผนังก่ออิฐ และ curtain wall ได้

มาตรฐานในการออกแบบ

Following are the main design codes generally used:

AISC : American institute of steel construction manual

AISI : American iron and steel institute specifications

MBMA : Metal building manufacturer’s code

ANSI : American national standards institute specifications

ASCE : American society of civil engineers

UBC : Uniform building code

IS : Indian standards

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้